เครื่องออกกำลังกาย อุปกรณ์ฟิตเนส - 360 Ongsa Fitness
× PRODUCTS GYM DESIGN CASE STUDIE SUPPORT KNOWLEDGE & NEWS แจ้งชำระเงิน การชำระเงิน ABOUT CONTACT LOG IN REGISTER
...

7 วิธีเลือกลู่วิ่งไฟฟ้าก่อนตัดสินใจซื้อ


Knowlege





1. มอเตอร์ลู่วิ่งไฟฟ้า

กำลังของมอเตอร์ลู่วิ่งมีหน่วยเป็น แรงม้า (Horse Power หรือ HP) แรงม้ายิ่งเยอะ กำลังสปีดก็จะยิ่งเยอะตามไปด้วย และรับน้ำหนักได้มากขึ้น รองรับสายพานที่มีขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งก็คือมีพื้นที่วิ่งที่มากขึ้น ดังนั้นมอเตอร์ที่แรงม้าเยอะกว่าจึงดีกว่า โดยปกติแล้ว ลู่วิ่งที่มีกำลังแรงม้าระหว่าง 1.5 – 3 .0 แรงม้า และเป็นมอเตอร์ชนิด DC มักจะเหมาะสำหรับใช้ในบ้าน ที่ไม่ได้ใช้ติดต่อกันนาน ๆหลายชั่วโมง ถ้าซื้อเพื่อใช้ในฟิตเนส โรงยิม บริษัท ควรมีแรงม้าตั้งแต่ 4 แรงม้าขึ้นไป และควรเป็นมอเตอร์ AC

อีกเรื่องที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อลู่วิ่งก็คือชนิดของมอเตอร์ โดย มอเตอร์ลู่วิ่งไฟฟ้า จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ
- มอเตอร์ DC เป็นมอเตอร์ลู่วิ่งไฟฟ้าสำหรับใช้ในบ้านปกติ

- มอเตอร์ AC เป็นมอเตอร์ลู่วิ่งไฟฟ้าสำหรับใช้ในฟิตเนส โรงยิม หรือ กับคนที่ใช้งานหนักและวิ่งต่อเนื่องเป็นเวลานาน
จะดีกว่ามอเตอร์แบบ DC ซึ่งราคาก็จะแพงกว่าแต่อายุการใช้งานจะยาวนานกว่า

2. ขนาดสายพาน

ขนาดสายพานของลู่วิ่งยิ่งมีขนาดใหญ่ ยิ่งวิ่งได้สบายขึ้น ไม่อึดอัดเวลาวิ่ง โดยเราจะต้องดูทั้งความกว้างและความยาวของสายพาน ยิ่งเยอะยิ่งดี แต่ราคาก็จะสูงขึ้นเช่นกัน พื้นที่วิ่งมีความสัมพันธ์กับขนาดของผู้ใช้ หลายๆ คนจึงควรลองไปวิ่งดูก่อนตัดสินใจซื้อ สำหรับการใช้งานวิ่งปกติ เราควรเลือกลู่วิ่งไฟฟ้าที่มีขนาดสายพานกว้างไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร และ ยาวไม่น้อยกว่า  120 เซนติเมตร ซึ่งถือเป็นขนาดที่ไม่เล็กและไม่ใหญ่จนเกินไป

3. การรับน้ำหนักของลู่วิ่งนี้ ไม่ใช่แค่ดูที่น้ำหนักของตัวเครื่องเพียงอย่างเดียว ต้องดูไปถึงตัวมอเตอร์ และควรมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวของผู้ใช้ด้วย ซึ่งมอเตอร์แต่ละแรงม้าส่งกำลังต่อน้ำหนักต่างกัน แนะนำง่ายๆ ดังนี้
       1.  มอเตอร์ขนาด 1.5 - 2.5 แรงม้า
       - สำหรับน้ำหนัก 50 แต่ไม่เกิน 80 Kg.
       2.  มอเตอร์ขนาด 2.5-3.0 แรงม้า
       - สำหรับน้ำหนัก 80 - 100 Kg.
       3.  มอเตอร์ขนาด 3.5-4.5 แรงม้า
       - สำหรับน้ำหนัก 100 - 150 Kg.
       4.  มอเตอร์ขนาด 5.0-6.0 แรงม้า
       - สำหรับน้ำหนัก 150 - 200Kg.

4. โปรแกรมวิ่ง

โดยปกติแล้ว ลู่วิ่งไฟฟ้าจะมีโปรแกรมวิ่งในตัวมาให้ 3-12 โปรแกรม เราสามารถเลือกฝึกตามโปรแกรมได้ โดยโปรแกรมวิ่งมักจะถูกออกแบบมาให้ท้าทายขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เราได้พัฒนาตัวเองขึ้น ตามโปรแกรมวิ่ง นอกจากนี้ลู่วิ่งไฟฟ้าที่มีราคาแพงรวมไปถึงลู่วิ่งไฟฟ้าที่มีหน้าจอแบบสัมผัส หรือ Touch Screen จะสามารถให้เราสร้างโปรแกรมการวิ่งของเราเองได้ รวมถึงมีโปรแกรมการวิ่งหลากหลายวัตถุประสงค์เพิ่มด้วย เช่น โปรแกรมวิ่งเพื่อลดน้ำหนัก โปรแกรมวิ่งเพื่อสุขภาพหัวใจที่ดีขึ้น ลู่วิ่งที่มีลูกเล่นของโปรแกรมการวิ่งที่หลากหลายจึงช่วยให้การวิ่งสนุกและท้าทายมากขึ้น

5. ความเร็วและความชัน
                     ความเร็วของลู่วิ่งไฟฟ้าขึ้นอยู่กับขนาดของมอเตอร์เป็นหลักอยู่แล้ว มอเตอร์ตัวไหนให้แรงขับที่สูง ความเร็วก็สูงเช่นเดียวกัน รวมไปถึงการรับน้ำหนักของผู้วิ่งด้วย

ความเร็วที่เหมาะกับการใช้งารนในแบบที่ต่างกัน
             1. ความเร็วที่ 0.5- 3 กม./ชม.
             - เหมาะกับการเดินช้าๆ
             2.  ความเร็วที่ 4-6 กม./ชม.
             - เหมาะกับการเดินเร็วไปจนถึงจ๊อกกิ้ง warm up
             3.  ความเร็วที่ 7-10 กม./ชม.
             - เหมาะกับการวิ่งความเร็วปกติทั่วไป
             4.  ความเร็วที่ 11 กม./ชม.ขึ้นไป
             - เหมาะกับการวิ่งเร็ว

                      Incline คือความชันของตัวลู่วิ่ง โดยใช้ให้สัมพันธ์กับความเร็วเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกับการวิ่งและการเผาผลาญร่างกายให้สูงสุด เพราะในขณะที่เราวิ่งทางเรียบธรรมดาในความเร็วปกติอาจใช้แรงไม่มากเท่าไหร่ แต่เมื่อเราใส่ความชันเพิ่มเข้าไปนั่นหมายถึงเราจำเป็นต้องออกแรงขาให้มากขึ้น เหนื่อยเพิ่มขึ้นในความเร็วที่เท่าเดิม ความชันนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการวิ่งของเราให้ดียิ่งขึ้น

6.  การพับเก็บ

การพับเก็บลู่วิ่งก็เป็นเรื่องที่มองข้ามไปไม่ได้ เพราะลู่วิ่งไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่และกินพื้นที่อยู่แล้ว ลู่วิ่งที่สามารถพับเก็บได้ก็จะช่วยประหยัดพื้นที่เพิ่มได้ ลู่วิ่งมีการพับเก็บอยู่ 2 ระบบ ดังนี้

ระบบสลักล็อค (ปัจจุบันไม่นิยมแล้ว) ระบบนี้ไม่สะดวกและใช้แรงเยอะ ผู้ใช้จะต้องยกลู่วิ่งขึ้นลงด้วยแรงตัวเอง จากนั้นใช้สลักยึดตัวลู่วิ่งให้อยู่กับที่ ปกติจะใช้กับลู่วิ่งที่มีขนาดเล็กเท่านั้น และลู่วิ่งบางตัวที่ใช้ระบบนี้จะไม่สามารถเก็บในแนวตั้งได้ด้วย

ระบบไฮดรอลิค (Hydraulic) จะมีไฮดรอลิคช่วยทั้งเวลายกลู่วิ่งขึ้นและลง จึงสะดวกและไม่ต้องใช้แรงมาก และระบบไฮดรอลิคส่วนมากจะทำเพื่อให้ลู่วิ่งสามารถพับเก็บแนวตั้งได้ จึงประหยัดพื้นที่เพิ่มขึ้น

7. การรับประกันและการจัดส่ง
          การรับประกันเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องให้ความสนใจเมื่อจะซื่อลู่วิ่ง เพราะว่าสินค้าทุกชนิดมีโอกาสชำรุดเสียหายได้ เราต้องสอบถามให้แน่ใจในเรื่องนโยบายการรับประกันสินค้าของลู่วิ่งไฟฟ้าที่เราซื้อ โดยส่วนใหญ่แล้วลู่วิ่งเกรดใช้ในบ้าน จะรับประกัน 1 ปีในส่วนของโครงสร้างหลัก มอเตอร์และระบบแผงวงจรไฟฟ้า

ถ้าเกรดฟิตเนส จะรับประกัน 2 ปีในส่วนของโครงสร้างหลัก มอเตอร์และระบบแผงวงจรไฟฟ้า

ลู่วิ่งไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ออกกำลังกายที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก เรื่องการจัดส่งจึงเป็นสิ่งที่ลูกค้าหลายๆ คนต้องคำนึงถึง โดยส่วนมากแล้วราคาค่าการจัดส่งจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ของลูกค้า ควรสอบถามให้ชัดเจนว่าร้านค้าจะจัดส่งให้ลูกค้าแบบไหน มีบริการติดตั้งให้ไหม และมีค่าใช้จ่ายด้านใดเพิ่มขึ้นมาหรือเปล่า